SMID Health Hackathon 2021 ในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้ธีม “In the age of health digitalization”

💥 เมื่อวันที่ 26-27 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก (SMID) สนับสนุนโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเวทีเฟ้นหาสุดยอด Solution ด้านการแพทย์และสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดนวัตกรด้าน Medical/Health และ Deeptech Startup  ในงาน SMID Health Hackathon 2021 ในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้ธีม “In the age of health digitalization” ต่อเนื่องแบบมาราธอน 36 ชั่วโมง

                

โดยมีศาสตราจารย์ เชี่ยวชาญพิเศษ นายแพทย์ บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงานในครั้งนี้

การเฟ้นหาสุดยอด Solution ด้านการแพทย์สุขภาพในครั้งนี้ มีผู้สมัครกว่า 40 ทีม จำนวนกว่า 200 คน จากทั่วประเทศ โดยผ่านเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกที่เข้มข้นจนเหลือเพียง 16 ทีม ประกอบไปด้วย บุคลากรด้านการแพทย์และสุขภาพ นักศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และบริหารธุรกิจ รวมถึง Startup และเยาวชนที่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าร่วมแข่งขันในครั้งนี้ด้วย

💥 การจัดกิจกรรม Hackathon ในครั้งนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนากิจกรรมในพื้นที่ย่านนวัตกรรมการแพทย์สวนดอก (Innohealth) ถือเป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ ที่เปิดโอกาสให้คนที่อยู่ใกล้ชิดหน้างาน ใกล้ชิดลูกค้า (customer) หรือผู้ใช้งาน (user) สามารถเสนอแนวทางการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้าได้อย่างตรงจุด เราพบว่าไอเดียใหม่ๆ เกิดได้ตลอดเวลาและมักจะเกิดจากคนทำงานหน้างาน

“SMID Health Hackathon 2021” ครั้งนี้เปิดโอกาสให้ได้แสดงฝีมือ ปลดปล่อยศักยภาพ และแสดงไอเดียที่อยากนำเสนอได้อย่างเต็มที่ เพื่อร่วมสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมด้านการแพทย์รูปแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น SMID จัด Hackathon ในวันหยุดเพื่อเปิดโอกาสให้คนที่สนใจสามารถเข้าร่วมใน 36 ชั่วโมง ได้ จะทำให้ผู้เข้าร่วม focus ได้มากขึ้นและสามารถสร้างต้นแบบที่ใช้งานได้จริง โดยสามารถลดระยะเวลาการคิดค้นนวัตกรรมจากหลักปี ให้เหลือเพียงหลักวัน เรียกได้ว่าจัดเพียงครั้งเดียวก็สามารถสร้างไอเดียนวัตกรรมให้เลือกใช้ได้อย่างหลากหลาย ปัจจุบันหลายๆ องค์กรจึงประยุกต์ใช้ Hackathon เพื่อค้นหาไอเดียใหม่ๆ ทั้งจากบุคลากรภายใน และบุคคลภายนอกองค์กร

ทีมที่ชนะเลิศได้รับโล่ห์พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท ได้แก่ทีม Air Guitar อุปกรณ์สำหรับฝึกความคล่องแคล่วของมือและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง

ทีมรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับโล่ห์พร้อมเงินรางวัล 15,000 บาท  ได้แก่ ทีม Stepsole Health AI  โปรแกรมและอุปกรณ์ตรวจคัดกรองเซลล์มะเร็งปากมดลูกโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

ทีมรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้รับโล่ห์พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท  ได้แก่ทีม RESUME  ระบบช่วยสรุปบทสนทนาระหว่างบุคลากรแพทย์-ผู้ป่วย เป็น Clinical text 

 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image


คะแนนโหวต :