NIA เปิดตัวสำนักงานภูมิภาคแห่งแรก "NIA Northern Regional Connect"

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พร้อมเดินหน้าต่อยอดผลักดันเชียงใหม่สู่ “จังหวัดศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมในภูมิภาคภาคเหนือ” เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองอันดับสองรองจากกรุงเทพฯ มีความพร้อมสู่การเป็นเมืองนวัตกรรม มีโครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรมหลากหลาย มีสถาบันการศึกษาชั้นนำในภูมิภาคที่สามารถเป็นแหล่งผลิตนวัตกรได้ และมีสภาพแวดล้อมที่พร้อมต่อการเป็นบ้านหลังใหม่ของดิจิทัลโนแมดและสตาร์ทอัพจากทั่วโลก

        

โดยสำนักงานภาคเหนือจะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อม (System Integrator) ระหว่างกลไกด้านนวัตกรรมกับผู้ประกอบการภาคเอกชน เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และสร้างกิจกรรมทางด้านนวัตกรรมในพื้นที่ โดย NIA วางแผนพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่และภูมิภาค ภายใต้กลไก 3 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนด้านการเงิน (Finance) การสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายภูมิภาค (Network) และการบริหารจัดการข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligent)

        

ตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะเกิดการจ้างงานในพื้นที่เพิ่มขึ้นอีก 3,000 อัตรา มีการเข้าถึงนวัตกรรมทางด้านสังคมของตัวแทนชุมชนไม่น้อยกว่า 400 คน เกิดการลงทุนในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งสิ้น 263 ล้านบาท และก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดของภาคเหนือ (GPP) เพิ่มขึ้น 0.042% และเกิดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้น 0.001

        

อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม และยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมในส่วนภูมิภาคยังมีประเด็นท้าทายอยู่ 7 ประเด็นสำคัญ ที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่

  • การเพิ่มวิสาหกิจฐานนวัตกรรม (Innovation-based Enterprise, IBE) ที่เพียงพอต่อการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง “ระบบนวัตกรรม“
  • การเพิ่มจำนวนนวัตกร (Innovator) ในระบบนวัตกรรมของไทยมีความเก่ง (Competency) และ ความเชี่ยวชาญ (Expertise) ในการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
  • การใช้ประโยชน์ โครงสร้างพื้นฐาน ทางนวัตกรรม และการเข้าถึงบริการทางนวัตกรรมในทุกภาคส่วน
  • การสร้างโอกาสทางนวัตกรรมในระบบภูมิภาค
  • การทำให้ กฏ ระเบียบ และ นโยบาย เป็นเรื่องง่ายกับกระบวนการทางนวัตกรรม
  • การเป็นชาตินวัตกรรมที่ “คนไทย” และ “นานาชาติ” ยอมรับ
  • การทำให้ระบบนวัตกรรมไทย “ตอบสนอง” ต่อการเปลี่ยนแปลงโลก (Transformation Innovation System)


คะแนนโหวต :